"ชินภัทร"ชี้เรื่องไม่จำเป็น/หนุนการศึกษาพิเศษขึ้นกรม-บุคลากรหน้าใส
เมื่อวันที่ 24 ม.ค.56 นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีการปรับโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ใหม่ ซึ่งจะกำหนดให้การเสนองานต่างๆ ขององค์กรหลักต้องเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ. เพื่อเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ ว่า โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เพราะใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. พ.ศ.2546 กำหนดว่าองค์กรหลักทั้ง 5 แท่ง ต้องรายงานตรงต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพราะผู้บริหารแต่ละองค์กรหลักก็เป็นระดับเทียบเท่าปลัด ศธ.และการกำหนดเช่นนี้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการทำงาน หากจะเพิ่มสายบังคับบัญชาอีก 1 สาย จะเป็นเรื่องที่จะขัดกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. อีกทั้งงานนโยบาย เป็นงานที่ไม่ได้เสนอบ่อย จึงไม่จำเป็นต้องผ่านสำนักงานปลัด ศธ. อีกทั้งปกติก็จะมีการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักทุกสัปดาห์อยู่แล้ว อะไรที่จะมีการประสานกันก็ควรจะได้หารือกันในที่ประชุมดังกล่าวได้
"สำนักงานปลัด ศธ.รับไหวหรือไม่ หากงานทุกอย่างต้องเสนอไปให้ และจำเป็นหรือไม่ที่สำนักงานปลัดศธ. ต้องรับรู้ทุกเรื่อง เพราะโดยธรรมชาติแล้วงานแต่ละองค์กรก็จะไม่เหมือนกัน ซึ่งสำนักงานปลัด ศธ.ก็คือกรมหนึ่งที่มีภารกิจในงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) อยู่แล้ว หากจะมารับรู้ทุกเรื่องของทุกแท่งอาจจะไม่ใช่ และจะกลายเป็นคอขวดทำให้งานทุกเรื่องไปตันอยู่ที่เดียว"
นายชินภัทร กล่าวและว่า สำหรับ การดึงสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษที่ดูแลการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปอยู่กับสำนักงานปลัด ศธ.โดยจะยกฐานะเป็นกรม นั้นก็ไม่มีปัญหา เพราะที่จริงแล้วงานการศึกษาพิเศษ มีการบริหารงานแบบเขตเดียวทั่วประเทศ จะโยกไปตรงไหนงานก็สามารถเดินหน้าได้ ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรฯ ที่มีประมาณ 10,000 คน ที่จะต้องโยกตามไปด้วย ก็ไม่น่าจะห่วงเรื่องความก้าวหน้าในหน้าที่ เพราะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สศศ. อยู่แล้วเฉพาะ ทั้งนี้การย้ายข้ามสังกัด จะต้องมีการออกบทเฉพาะกาลเพื่อมาดำเนินการด้วย
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า กรณีกำหนดให้การเสนองานต่างๆ ขององค์กรหลักต้องเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ. ก่อนไปถึง รมว.ศึกษาธิการนั้น ควรจะต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มารองรับว่า เมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร เพราะขณะนี้ทิศทางการทำงานขององค์กรหลักจะเน้นการกระจายอำนาจไปยังเขต พื้นที่ฯ และสถานศึกษา งานในส่วนกลางจึงมีไม่มาก ฉะนั้นงานของ สอศ.ที่จะเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ.ก็คงไม่มากเช่นกัน
ที่มา : สยามรัฐ
เมื่อวันที่ 24 ม.ค.56 นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีการปรับโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ใหม่ ซึ่งจะกำหนดให้การเสนองานต่างๆ ขององค์กรหลักต้องเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ. เพื่อเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ ว่า โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เพราะใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. พ.ศ.2546 กำหนดว่าองค์กรหลักทั้ง 5 แท่ง ต้องรายงานตรงต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพราะผู้บริหารแต่ละองค์กรหลักก็เป็นระดับเทียบเท่าปลัด ศธ.และการกำหนดเช่นนี้ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการทำงาน หากจะเพิ่มสายบังคับบัญชาอีก 1 สาย จะเป็นเรื่องที่จะขัดกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ ศธ. อีกทั้งงานนโยบาย เป็นงานที่ไม่ได้เสนอบ่อย จึงไม่จำเป็นต้องผ่านสำนักงานปลัด ศธ. อีกทั้งปกติก็จะมีการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักทุกสัปดาห์อยู่แล้ว อะไรที่จะมีการประสานกันก็ควรจะได้หารือกันในที่ประชุมดังกล่าวได้
"สำนักงานปลัด ศธ.รับไหวหรือไม่ หากงานทุกอย่างต้องเสนอไปให้ และจำเป็นหรือไม่ที่สำนักงานปลัดศธ. ต้องรับรู้ทุกเรื่อง เพราะโดยธรรมชาติแล้วงานแต่ละองค์กรก็จะไม่เหมือนกัน ซึ่งสำนักงานปลัด ศธ.ก็คือกรมหนึ่งที่มีภารกิจในงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) อยู่แล้ว หากจะมารับรู้ทุกเรื่องของทุกแท่งอาจจะไม่ใช่ และจะกลายเป็นคอขวดทำให้งานทุกเรื่องไปตันอยู่ที่เดียว"
นายชินภัทร กล่าวและว่า สำหรับ การดึงสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษที่ดูแลการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปอยู่กับสำนักงานปลัด ศธ.โดยจะยกฐานะเป็นกรม นั้นก็ไม่มีปัญหา เพราะที่จริงแล้วงานการศึกษาพิเศษ มีการบริหารงานแบบเขตเดียวทั่วประเทศ จะโยกไปตรงไหนงานก็สามารถเดินหน้าได้ ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรฯ ที่มีประมาณ 10,000 คน ที่จะต้องโยกตามไปด้วย ก็ไม่น่าจะห่วงเรื่องความก้าวหน้าในหน้าที่ เพราะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สศศ. อยู่แล้วเฉพาะ ทั้งนี้การย้ายข้ามสังกัด จะต้องมีการออกบทเฉพาะกาลเพื่อมาดำเนินการด้วย
ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า กรณีกำหนดให้การเสนองานต่างๆ ขององค์กรหลักต้องเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ. ก่อนไปถึง รมว.ศึกษาธิการนั้น ควรจะต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มารองรับว่า เมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร เพราะขณะนี้ทิศทางการทำงานขององค์กรหลักจะเน้นการกระจายอำนาจไปยังเขต พื้นที่ฯ และสถานศึกษา งานในส่วนกลางจึงมีไม่มาก ฉะนั้นงานของ สอศ.ที่จะเสนอผ่านสำนักงานปลัด ศธ.ก็คงไม่มากเช่นกัน
ที่มา : สยามรัฐ