จุฬาฯ เสวนาปัญหาการศึกษาไทย สะท้อนกับดักปัญหาการคุมคุณภาพและจำนวนครู
พร้อมระบุกลไกราชการภายใน ไม่ยอมรับรู้ปัญหาจริง และไม่แก้ไข
แต่เน้นแก้ข่าว
พร้อมชี้ช่องเตรียมพร้อมสู่อาเซียนต้องดูแลโรงเรียนตามตะเข็บชายแดน
จากการเสวนา นโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ในการแก้ปัญหาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ผ่านมานั้น เหมือนจะมาถูกทางแต่ก็พบกับดักทางการศึกษา คือ 1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้ครูทุกคนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และทำผลงานเพื่อขอวิทยฐานะ ซึ่งดูเหมือนจะมาถูกทางแต่มีกับดักคือ ทำให้ครูทำแต่ผลงานวิชาการ และทิ้งห้องเรียน ส่วนการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ไม่ได้ทำให้ครูมีคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครูรุ่นเก่าจำนวน 3 แสนคนที่อยู่ในระบบการศึกษาขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นครูประจำการที่ได้รับใบอนุญาตฯ ทันที ขณะที่การผลิตครูใหม่ 5 ปี ก่อนได้รับใบอนุญาตฯ นั้น ขณะนี้ผลิตได้เพียง 20,000 คน ที่เป็นเลือดใหม่ ซึ่งสัดส่วนตรงนี้ต่างกันมาก ที่สำคัญเมื่อผลิตครูรุ่นใหม่ออกมาก็เจอกับปัญหาโรงเรียนใช้ไม่ตรงสาขาที่จบ เอกมาจึงกลายเป็นปัญหาด้านคุณภาพอีกเช่นกัน 2.เรื่องการกระจายอำนาจของ ศธ. ปัจจุบันในเขตพื้นที่จะมีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่ และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งการจัดสรรอำนาจไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง คือ อ.ก.ค.ศ.มีอำนาจในการโยกย้ายครู โดยที่ ผอ.เขตพื้นที่มีหน้าที่เหมือนตรายาง ทั้งนี้ตนจึงเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจให้คณะบุคคล ไม่ใช่บุคคลคนใดคนหนึ่ง และควรยุบกรรมการทั้ง 2 ชุดให้เหลือเพียงชุดเดียว และ3. ศธ.ควรปรับปรุงการขอคืนอัตราเกษียรให้มีการเสนอขอคืนอัตราล่วงหน้าก่อนสิ้น ปีเกษียร เพื่อแก้ปัญหาขาดครูในโรงเรียน
จากการเสวนา นโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ในการแก้ปัญหาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ผ่านมานั้น เหมือนจะมาถูกทางแต่ก็พบกับดักทางการศึกษา คือ 1.การควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้ครูทุกคนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และทำผลงานเพื่อขอวิทยฐานะ ซึ่งดูเหมือนจะมาถูกทางแต่มีกับดักคือ ทำให้ครูทำแต่ผลงานวิชาการ และทิ้งห้องเรียน ส่วนการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ไม่ได้ทำให้ครูมีคุณภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครูรุ่นเก่าจำนวน 3 แสนคนที่อยู่ในระบบการศึกษาขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นครูประจำการที่ได้รับใบอนุญาตฯ ทันที ขณะที่การผลิตครูใหม่ 5 ปี ก่อนได้รับใบอนุญาตฯ นั้น ขณะนี้ผลิตได้เพียง 20,000 คน ที่เป็นเลือดใหม่ ซึ่งสัดส่วนตรงนี้ต่างกันมาก ที่สำคัญเมื่อผลิตครูรุ่นใหม่ออกมาก็เจอกับปัญหาโรงเรียนใช้ไม่ตรงสาขาที่จบ เอกมาจึงกลายเป็นปัญหาด้านคุณภาพอีกเช่นกัน 2.เรื่องการกระจายอำนาจของ ศธ. ปัจจุบันในเขตพื้นที่จะมีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่ และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งการจัดสรรอำนาจไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง คือ อ.ก.ค.ศ.มีอำนาจในการโยกย้ายครู โดยที่ ผอ.เขตพื้นที่มีหน้าที่เหมือนตรายาง ทั้งนี้ตนจึงเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจให้คณะบุคคล ไม่ใช่บุคคลคนใดคนหนึ่ง และควรยุบกรรมการทั้ง 2 ชุดให้เหลือเพียงชุดเดียว และ3. ศธ.ควรปรับปรุงการขอคืนอัตราเกษียรให้มีการเสนอขอคืนอัตราล่วงหน้าก่อนสิ้น ปีเกษียร เพื่อแก้ปัญหาขาดครูในโรงเรียน
"ที่ผ่านมา ศธ.เสนอขอคืนอัตราเกษียร หลังจากวันที่ 30 ก.ย.ของทุกปี
และขั้นตอนการคืนอัตราเกษียร ก็ล่าช้า ทำให้โรงเรียนขาดครูที่จะมาทดแทน
ที่สำคัญ ศธ.เล่นการเมืองมากไป มุ่งจะขออัตราคืนในช่วงเวลาใกล้เปิดเทอม
เพื่อเป็นการบีบให้รัฐบาลเร่งคืนอัตรา ทั้งที่ก็รู้อยู่แล้วว่า
ในแต่ละปีมีครูเกษียรกี่คน
ดังนั้นควรวางแผนการขอคืนอัตราเกษียรตั้งแต่เดือน พ.ค. ของทุกปี
เมื่อครูเกษียรก็จะมีครูใหม่เข้ามาทำงานแทนได้ทันที" ศ.ดร.พฤทธิ์ กล่าว
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ตนขอฝากประเด็นให้รมว.ศธ. เร่งดำเนินการ ดังนี้ 1.การปฎิรูปโครงสร้าง ให้เน้นห้องเรียนและเด็กเป็นหลัก โดยมองว่าโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนจะลงไปสู่เรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียน ได้อย่างไร 2.ลดภาระงานทำเอกสารของครู ลดงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ตอนนี้มี 10 กระทรวงที่สั่งให้ครูทำงาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ทั้งที่ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่กลับไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง พร้อมกันนี้ควรกำหนดหลักสูตรใหม่ เน้นการเรียนจากเนื้อหา ร้อยละ 60 และเน้นทำกิจกรรมร้อยละ 40 โดยอาจมอบหมายให้ทางคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินการออกแบบหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่การแสดงออก ทำให้เด็กมีทั้งความฉลาดทางสมอง(ไอคิว)และความฉลาดทางอารมณ์(อีคิว) 3.เสนอ ให้มีการสับโขกระบบกลไกลราชการ เพราะขณะนี้กลไกราชการ ศธ.มีการต่อต้านเงียบๆ แก่ผู้บังคับบัญชา ด้วยการไม่ปฎิบัติตามสิ่งที่รัฐบาลกำหนด แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการศึกษา ระบบกลไกราชการจะใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้คิดแก้ไขหรือปฎิรูปหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ยังคงดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ทั้งนี้หากข้าราชการฝ่ายการเมืองไม่มีความจริงจัง คือไม่กำหนดชัดเจนว่าหากทำไม่ได้ต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ปัญหาก็จะไม่มีการแก้ไข
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า 4.เรื่องโครงการตำราแห่งชาติ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ทำจะเกิดโครงการตำราผี ยัดเยียดตำราที่ด้อยคุณภาพให้แก่ผู้บริหาร แล้วกินค่าคอมมิสชั่น ร้อยละ 30-40 เวลานี้โรงเรียนเอกชนหลายแห่งทำแบบนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งแก้ด้วยการนำโครงการตำราแห่งชาติ ควบคู่กับการผลิตหลักสูตรการเรียนรู้ผ่านแท็บแล็ต โดยต้องดำเนินการไปพร้อมกัน พร้อมกันนี้ต้องยกระดับผู้ตรวจราชการ ศธ.ให้รายงานผลตามความเป็นจริง จากเดิมที่การรายงานสถานการณ์จะรับเฉพาะเรื่องดีๆ อะไรไม่ดีห้ามรายงาน ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ในระบบการศึกษาไม่เคยถึงหูนักการเมือง รมว.ศึกษาธิการ ทำให้นักการเมือง ไม่รู้สึกเลยว่าการศึกษาไทยแย่ จากนั้นเมื่อมีผลประเมินผลการศึกษาออกมาไม่ดี ข้าราชการก็ใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้แก้ที่โครงสร้างทางวิชาการ
“นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพของเด็กในต่างจังหวัด เด็กในโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเด็กกลุ่มนี้มีถึงร้อยละ 80 ขณะที่เด็กในเมืองมีเพียงร้อยละ 20 ซึ่งหากไม่พัฒนาคุณภาพการศึกษา เด็กต่างจังหวัด คุณภาพการศึกษาไทยก็ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ และควรให้ความสำคัญเด็กตามแนวตะเข็บชายแดนของประเทศ ที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงจะต้องเตรียมความพร้อมกรณีการหลั่งไหลเข้ามาของนักเรียนจากประเทศ เพื่อนบ้านในละแวกนั้นๆ ว่ามีการจะมีหลักสูตรอะไร จัดการศึกษาอย่างไร เรื่องนี้ยังไม่มีใครพูดถึงเลย” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ตนขอฝากประเด็นให้รมว.ศธ. เร่งดำเนินการ ดังนี้ 1.การปฎิรูปโครงสร้าง ให้เน้นห้องเรียนและเด็กเป็นหลัก โดยมองว่าโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนจะลงไปสู่เรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียน ได้อย่างไร 2.ลดภาระงานทำเอกสารของครู ลดงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ตอนนี้มี 10 กระทรวงที่สั่งให้ครูทำงาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ทั้งที่ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่กลับไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง พร้อมกันนี้ควรกำหนดหลักสูตรใหม่ เน้นการเรียนจากเนื้อหา ร้อยละ 60 และเน้นทำกิจกรรมร้อยละ 40 โดยอาจมอบหมายให้ทางคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินการออกแบบหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้มีพื้นที่การแสดงออก ทำให้เด็กมีทั้งความฉลาดทางสมอง(ไอคิว)และความฉลาดทางอารมณ์(อีคิว) 3.เสนอ ให้มีการสับโขกระบบกลไกลราชการ เพราะขณะนี้กลไกราชการ ศธ.มีการต่อต้านเงียบๆ แก่ผู้บังคับบัญชา ด้วยการไม่ปฎิบัติตามสิ่งที่รัฐบาลกำหนด แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการศึกษา ระบบกลไกราชการจะใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้คิดแก้ไขหรือปฎิรูปหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ยังคงดำเนินการตามนโยบายของตนเอง ทั้งนี้หากข้าราชการฝ่ายการเมืองไม่มีความจริงจัง คือไม่กำหนดชัดเจนว่าหากทำไม่ได้ต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ปัญหาก็จะไม่มีการแก้ไข
รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า 4.เรื่องโครงการตำราแห่งชาติ เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ทำจะเกิดโครงการตำราผี ยัดเยียดตำราที่ด้อยคุณภาพให้แก่ผู้บริหาร แล้วกินค่าคอมมิสชั่น ร้อยละ 30-40 เวลานี้โรงเรียนเอกชนหลายแห่งทำแบบนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งแก้ด้วยการนำโครงการตำราแห่งชาติ ควบคู่กับการผลิตหลักสูตรการเรียนรู้ผ่านแท็บแล็ต โดยต้องดำเนินการไปพร้อมกัน พร้อมกันนี้ต้องยกระดับผู้ตรวจราชการ ศธ.ให้รายงานผลตามความเป็นจริง จากเดิมที่การรายงานสถานการณ์จะรับเฉพาะเรื่องดีๆ อะไรไม่ดีห้ามรายงาน ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ในระบบการศึกษาไม่เคยถึงหูนักการเมือง รมว.ศึกษาธิการ ทำให้นักการเมือง ไม่รู้สึกเลยว่าการศึกษาไทยแย่ จากนั้นเมื่อมีผลประเมินผลการศึกษาออกมาไม่ดี ข้าราชการก็ใช้วิธีแก้ข่าว แต่ไม่ได้แก้ที่โครงสร้างทางวิชาการ
“นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาคุณภาพของเด็กในต่างจังหวัด เด็กในโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเด็กกลุ่มนี้มีถึงร้อยละ 80 ขณะที่เด็กในเมืองมีเพียงร้อยละ 20 ซึ่งหากไม่พัฒนาคุณภาพการศึกษา เด็กต่างจังหวัด คุณภาพการศึกษาไทยก็ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ และควรให้ความสำคัญเด็กตามแนวตะเข็บชายแดนของประเทศ ที่จะกลายเป็นกำลังสำคัญเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงจะต้องเตรียมความพร้อมกรณีการหลั่งไหลเข้ามาของนักเรียนจากประเทศ เพื่อนบ้านในละแวกนั้นๆ ว่ามีการจะมีหลักสูตรอะไร จัดการศึกษาอย่างไร เรื่องนี้ยังไม่มีใครพูดถึงเลย” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์