นายรังสรรค์ มณีเล็ก
ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า
ขณะนี้ได้เกิดแนวคิดการมีส่วนร่วมของนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับ
ตำบล ซึ่งมีโรงเรียนขนาดเล็กกระ จายอยู่ 2-4 โรง
และส่วนใหญ่ขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
ดังนั้นจึงเห็นชอบให้โรงเรียนเหล่านี้ใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในตำบล
ที่คาดว่าจะส่งผลให้คุณภาพของนักเรียนสูงขึ้น
ทั้งบางแห่งอาจใช้นวัตกรรมการหมุนเวียนครู หมุนเวียนคอมพิวเตอร์
หมุนเวียนนักเรียน
ไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่นที่ผ่านมาก็มีโรงเรียนหลายแห่งทำได้ดี อาทิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เลย เขต 1
หรือแก่งจันทร์โมเดล, สพป.เลย เขต 3 หรือลากข้างโมเดล, สพป.ลพบุรี เขต 2
หรือใจประสานใจโมเดล, สพป.นครราชสีมา เขต 3 หรือทุ่งหลวงโมเดล และ
สพป.นครสวรรค์ เขต 1 หรือพยุหะศึกษาคารโมเดล เป็นต้น
และยังมีอีกหลายแห่งหลายโมเดลที่รวมตัวกันแล้วเกิดความยั่งยืนขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เห็นชอบให้ สพฐ.จัดรถตู้โดยสาร 15 ที่นั่ง ตำบลละ 1 คัน จำนวน 6,545 คัน โดยรถจะให้รับ-ส่งนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กในช่วงเช้าและเย็นเพื่อเรียนรวม ขณะที่อาคารเรียนที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนแล้ว ก็จะให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เข้ามาใช้ประโยชน์ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล หรือศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอท็อป
"เราจะไม่เดินหน้ายุบโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะคำนึงถึงบ้าน วัด โรงเรียน หรือบวร ที่ต้องอยู่คู่กัน แต่ต่อไปบทบาทของโรงเรียนในตำบลจะเปลี่ยนไป เป็นศูนย์การเรียนรู้ กศน. หรือศูนย์โอท็อป ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวก็ต้องเป็นความสมัครใจของคนในชุมชนด้วย ทั้งหมดเพื่อลดแรงต้านของคนในชุมชน"นายรังสรรค์กล่าว.--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์