นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในปี 2556
ศธ.จะเดินหน้าเรื่องการปรับหลักสูตรและการปรับการเรียนการสอนให้แล้วเสร็จ
โดยจะมีการตั้งคณะทำงานหลายชุดขึ้นมาขับเคลื่อนเรื่องนี้
โดยจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องให้หลากหลายที่สุด
เชิญผู้รู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ
มาช่วยระดมสมอง
ให้มากที่สุด
ซึ่งการที่ให้คนมีส่วนร่วมมากตั้งแต่ต้นจะทำให้การปรับหลักสูตรเคลื่อนไป
ข้างหน้าอย่างมั่นคง และเสียเวลาน้อยกว่า
การที่ไม่เปิดรับฟังความเห็นจากคนหมู่มาก
และก็ต้องมาเกิดปัญหาความเห็นแตกแยกกันในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม การปรับหลักสูตรจะครอบคลุมตั้งแต่ว่าการมาทบทวนใหม่อีกครั้งว่าหลักสูตรควร จะแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระเช่นเดิมหรือไม่ เนื้อหาในแต่ละวิชาจะต้องปรับอย่างไรให้เข้ากับความรู้ วิทยาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา เกิดแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนขึ้นมามาก รวมถึงต้องมีการทบทวนเรื่องโครงสร้างเวลาเรียนด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าเวลาเรียนในห้องเรียนควรจะลดลง เพราะเวลาเรียนในห้องเรียนของเด็กไทยมากเกินไป จนไม่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์จะเกิดจากการทำกิจกรรมมากกว่า เพราะฉะนั้น ควรจะลดเวลาเรียนในห้องเรียนลง และเพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียน ขณะที่วิธีจัดการเรียนการสอนก็ต้องปรับให้ทันสมัยขึ้นด้วย
ด้าน ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทั้งหมด 4 ชุดใหญ่ ชุดแรก เป็นกรรมการที่จะมาออกแบบระบบการศึกษาของไทยใหม่ โดยนำระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมศึกษาวิเคราะห์ เพื่อออกแบบระบบการศึกษาที่เหมาะสำหรับประเทศไทย ชุดที่สองจะเป็นกรรมการออกแบบหลักสูตร กรรมการชุด นี้จะออกแบบหลักสูตรในภาพรวม หาคำตอบให้ได้ว่าหลักสูตรควรจะเป็นกี่กลุ่มสาระวิชา เพราะมีแนวคิดหนึ่งว่าควรจะลดสาระวิชาลง แต่กำหนดให้ชัดเจนว่าในสาระวิชานั้น ๆ จะแยกย่อยเป็นรายวิชาใดบ้าง เพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ไม่มีชื่อรายวิชาย่อย ทำให้ผู้เรียนยังไม่รู้ว่ากำลังเรียนวิชาใดอยู่ หรือบางรายวิชาที่มีประโยชน์ เช่น วิชาเรียงความ หรือย่อความหายไป ทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกจับใจความไม่ได้ ทั้งนี้เมื่อกรรมการชุดใหญ่ออกแบบหลักสูตรในภาพรวมแล้วจะเชิญผู้รู้มาเป็น กรรมการแยกย่อยในแต่ละวิชาอีกเพื่อทำหน้าที่ยกร่างหลักสูตรแต่ละวิชา
ส่วนกรรมการชุดที่สาม จะเป็นกรรมการออกแบบตำราเรียน กรรมการชุดนี้จะออกแบบว่าคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อใช้ ตำราเรียนนั้นเป็นเช่นไร แล้วให้สำนักพิมพ์แต่ละแห่งทั้งรัฐและเอกชนไปสร้างตำราเรียนตามสเปคนั้น ส่วนชุดสุดท้ายจะเป็นกรรมการที่สร้างความเข้าใจ เพราะการจะนำระบบการศึกษาและหลักสูตรใหม่มาใช้ จำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อม ในฝ่ายต่าง ๆ ทั้งโรงเรียน นักเรียน ครู
กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--ASTVผู้จัดการออนไลน์
อย่างไรก็ตาม การปรับหลักสูตรจะครอบคลุมตั้งแต่ว่าการมาทบทวนใหม่อีกครั้งว่าหลักสูตรควร จะแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระเช่นเดิมหรือไม่ เนื้อหาในแต่ละวิชาจะต้องปรับอย่างไรให้เข้ากับความรู้ วิทยาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา เกิดแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนขึ้นมามาก รวมถึงต้องมีการทบทวนเรื่องโครงสร้างเวลาเรียนด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่าเวลาเรียนในห้องเรียนควรจะลดลง เพราะเวลาเรียนในห้องเรียนของเด็กไทยมากเกินไป จนไม่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์จะเกิดจากการทำกิจกรรมมากกว่า เพราะฉะนั้น ควรจะลดเวลาเรียนในห้องเรียนลง และเพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียน ขณะที่วิธีจัดการเรียนการสอนก็ต้องปรับให้ทันสมัยขึ้นด้วย
ด้าน ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทั้งหมด 4 ชุดใหญ่ ชุดแรก เป็นกรรมการที่จะมาออกแบบระบบการศึกษาของไทยใหม่ โดยนำระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมศึกษาวิเคราะห์ เพื่อออกแบบระบบการศึกษาที่เหมาะสำหรับประเทศไทย ชุดที่สองจะเป็นกรรมการออกแบบหลักสูตร กรรมการชุด นี้จะออกแบบหลักสูตรในภาพรวม หาคำตอบให้ได้ว่าหลักสูตรควรจะเป็นกี่กลุ่มสาระวิชา เพราะมีแนวคิดหนึ่งว่าควรจะลดสาระวิชาลง แต่กำหนดให้ชัดเจนว่าในสาระวิชานั้น ๆ จะแยกย่อยเป็นรายวิชาใดบ้าง เพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ไม่มีชื่อรายวิชาย่อย ทำให้ผู้เรียนยังไม่รู้ว่ากำลังเรียนวิชาใดอยู่ หรือบางรายวิชาที่มีประโยชน์ เช่น วิชาเรียงความ หรือย่อความหายไป ทำให้นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกจับใจความไม่ได้ ทั้งนี้เมื่อกรรมการชุดใหญ่ออกแบบหลักสูตรในภาพรวมแล้วจะเชิญผู้รู้มาเป็น กรรมการแยกย่อยในแต่ละวิชาอีกเพื่อทำหน้าที่ยกร่างหลักสูตรแต่ละวิชา
ส่วนกรรมการชุดที่สาม จะเป็นกรรมการออกแบบตำราเรียน กรรมการชุดนี้จะออกแบบว่าคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อใช้ ตำราเรียนนั้นเป็นเช่นไร แล้วให้สำนักพิมพ์แต่ละแห่งทั้งรัฐและเอกชนไปสร้างตำราเรียนตามสเปคนั้น ส่วนชุดสุดท้ายจะเป็นกรรมการที่สร้างความเข้าใจ เพราะการจะนำระบบการศึกษาและหลักสูตรใหม่มาใช้ จำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อม ในฝ่ายต่าง ๆ ทั้งโรงเรียน นักเรียน ครู
กรุงเทพฯ--7 ม.ค.--ASTVผู้จัดการออนไลน์