"สมหวัง" สำนึกบาป
ระบุระบบประเมินคุณภาพสถานศึกษาของ สมศ.ยังมั่ว
การประเมินภายนอก-ภายในยังเป็นไปคนละทิศทาง ไร้เป้าหมาย
ไม่สะท้อนปัญหาที่แท้จริง ท้าหากไม่ปรับปรุง
ประเมินให้ตายผลสอบนักเรียนก็ไม่กระเตื้อง จี้ปฏิรูประบบการประเมินใหม่
ศ.กิตติคุณสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานคณะกรรมบริหาร
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวบรรยายในหัวข้อ
"ทิศทางและข้อเสนอแนะการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา"ในงานประชุมวิชาการ
ประจำปี 2555 เรื่อง"การวิจัยสถาบันกับกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่อนาคต"
จัดโดยสมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา (สวพอ.) ตอนหนึ่งว่า
การประเมินคุณภาพทั้งภายในและภาย นอกของหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษา และ
สมศ.ยังไม่ตอบโจทย์สังคม
เพราะใช้เครื่องมือการประเมินที่วัดแต่ความก้าวหน้าเพื่อการแข่งขันกับนานา
ประเทศแต่กลับไม่สะท้อนความจริงที่เป็นอยู่เพื่อแก้ปัญหาขณะเดียวกันยัง
ประเมินไปคนละทิศทาง และไร้เป้าหมายปลายทาง
ประธานบอร์ด
สมศ.กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการประเมินของ สมศ.
และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ยังทับซ้อนกัน
โดยเฉพาะเรื่องการประเมินนักเรียนดังนั้นทั้ง 2
องค์การควรมาคุยแยกส่วนการประเมินให้ชัดเจน อาทิ
สทศ.มีหน้าที่ประเมินนักเรียน สมศ.มีหน้าที่ประเมินผู้บริหารและครู เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คิดว่าเราต้องมีการทบทวนการประกันคุณภาพสถานศึกษาขนานใหญ่
ที่กำหนดชัดเจนเลยว่าใครมีหน้าที่ทำอะไร
อีกทั้งควรเข้าประเมินในขณะที่ดำเนินการเรียนการสอน การทำงานอยู่
และใช้เครื่องมือการประเมินที่ถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
ประธานบอร์ด สมศ.กล่าวอีกว่า
มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพสถานศึกษาในปัจจุบัน
มีการนำรายละเอียดมากำหนดเป็นมาตรฐานการประเมินมากเกินไป
ทำให้มีหลายมาตรฐาน มีการใช้หลายตัวบ่งชี้ จนผู้บริหารจำไม่ได้
และลืมเกณฑ์การประเมิน ดังนั้นจะต้องมีการรวบรวมรายละเอียดเหล่านั้น
แล้วสังเคราะห์ให้เหลือน้อยมาตรฐานที่สุด
ซึ่งแต่ละมาตรฐานต้องเป็นเรื่องหลักที่ผู้บริหารสามารถจำขึ้นใจเวลาไป
ปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม หลักการประ
เมินคุณภาพที่ดีควรต้องสะท้อนความจริงที่เป็นอยู่เพื่อหาทางแก้ได้ไม่ใช่
ประเมินแบบผักชีโรยหน้าอย่างปัจจุบัน เพราะประเมินเท่าไหร่
คุณภาพเด็กก็ไม่ดีขึ้น" ศ.กิตติคุณสมหวังกล่าว
"สมัยผมเป็น
ผอ.สมศ. เคยมีคนเสนอให้ สมศ.ทำการประเมินให้กระชับ ใช้เอกสารน้อยชิน
แต่ผมไม่เชื่อแต่ตอนนี้มาคิดได้ก็สาย เพราะผมเกษียณไปแล้ว" ประธาน
สมศ.กล่าว
ขณะที่ ศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์
นักวิชาการด้านการศึกษาอาวุโส กล่าวว่า
ตนได้รวบรวมข้อมูลแนวโน้มความต้องการทักษะต่างๆ สำหรับคนในศตวรรษ 21
ซึ่งมีหลายประเทศและหลายองค์กรได้จัดทำไว้ มาสังเคราะห์ได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
1.คนต้องมีทักษะในการ แสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง
เพราะปัจจุบันแหล่งความรู้ของแต่ละสาขาวิชามีมากจนไม่สามารถศึกษาได้หมดจาก
การสอนในห้องเรียน
2.ต้องมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เพราะระบบเศรษฐกิจจะไร้พรมแดน
3.ต้องมีทักษะในการแก้ปัญหาต่างๆ
เพื่อสามารถดำเนินชีวิตในโลกแห่งความวุ่นวายได้
4.ต้องมีทักษะในการคิดค้นหรือพัฒนานวัตกรรมที่แปลกใหม่
เหมือนชาติตะวันตกนำสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่มาขายให้เรา และ
5.ต้องมีทักษะในการใช้ชีวิตให้มีคุณค่าและมีเป้าหมาย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์