นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กล่าวถึงกรณีการผลิตบัณฑิตคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ที่มีมากในแต่ละปีว่า
ตัวเลขการผลิตครูที่ที่ประชุมสภาคณบดีคณะครุศาตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
(สคศท.) เสนอมา กับข้อมูลที่ ศธ.มีอยู่ไม่ตรงกัน แต่สิ่งที่พบเหมือนกันคือ ข้อมูลการผลิตครูของมหาวิทยาลัยต่างๆ มีจำนวนเกินความต้องการ และหากรวมกับข้อมูลผู้ที่จบครูก่อนหน้านี้ยิ่งมากเกินไป
"ถ้ายังผลิตเพิ่มอีกจำนวนบัณฑิตจะล้นจำนวนงานที่รับได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เรียนและอาจส่งผลต่อคุณภาพของผู้ที่จะเข้าไปเรียนลดลง ด้วย มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่ผลิตครูต้องมาหารือกันว่าจะผลิตครูในละปีจำนววนเท่า ไหร่ สาขาไหนบ้าง และสถาบันไหนจะผลิตครูบ้าง โดย ศธ.จะเป็นเจ้าภาพหลักในการหารือเรื่องนี้ รวมถึงจะต้องดูเรื่องการผลิตครูในโครงการครูมืออาชีพที่จะต้องปรับการดำเนิน การต่างๆ ใหม่ให้เหมาะสม รวมทั้งจะต้องให้ทุนและประกันการมีงานทำด้วย เพราะสาขาที่ให้ทุนนั้นเป็นสาขาขาดแคลน ซึ่งศธ.ต้องเร่งสรุปข้อมูลทั้งหมดให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันก่อนปิดรับนิสิตนักศึกษาปีการศึกษา 2556" รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า กรณีที่กลุ่มตัวแทนข้าราชการอาจารย์ และเจ้าหน้าที่สังกัดมหาวิทยาลัย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ขอให้ปรับเงินเดือนให้เท่ากับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมนั้น คงจะต้องขอไปดูรายละเอียดต่าง ก่อนว่าเป็นอย่างไร ส่วนเรื่องที่กลุ่มอาจารย์ขอจัดทำแท่งเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษาให้เป็นเอกเทศไม่ต้องอิงกับแท่งเงินเดือนของสำนักงานคณะกรรมการข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.) นั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องดูรายละเอียดต่างๆ เช่นกันว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
ด้าน รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดี มก.กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ ศธ.จะต้องมาดูแลบุคลากรทุกแท่งและทั้งระบบให้เท่าเทียมกันอย่างเช่นเงิน เดือน ไม่เช่นนั้นถ้าใครได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างหรือน้อยกว่าจะออกมาเรียกร้อง ตลอด หรือที่ว่าเป็นการเรียกร้องสิทธิ์ จนไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการศึกษา
--คมชัดลึก ฉบับวันที่ 9 ม.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--