สกศ. ปั้น 7 ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาประเทศ-รัฐบาล เอกสารดีใช้อ้างอิงได้การศึกษาไทยดีแน่ แต่นำไปใช้ปฏิบัติได้ยาก พร้อมรับฟังความเห็น และเร่งแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยเข้าขั้นโคม่า
จาก
การประชุมวิชาการเรื่องแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2
(พ.ศ.2555-2559) โดยรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559
จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย ซึ่งเป็นแผนหลักที่ทุกหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องรวมถึงรัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ร่วม
กัน คาดว่าจะปรับปรุงเสร็จและประกาศใช้ในเดือน พ.ค.2556 ขณะเดียวกัน
ในเดือน ม.ค.2556 สกศ.จะจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาชาติ พ.ศ.2555-2558
โดยคำนึงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่
รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเบื้องต้น สกศ.จะเสนอ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ, การสร้างรายได้
และขยายโอกาสทางการศึกษา, การปฏิรูปครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง,
การใช้งานวิจัยทางการศึกษา, การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา,
การใช้เทคโนโลยีกับการศึกษา, การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นอกจากนี้
สกศ.จะจัดทำข้อมูลและสถิติทางการศึกษา ทั้งเรื่องสัดส่วนนักเรียนต่อครู,
การเข้าเรียนและจบของนักเรียนแต่ละช่วงชั้น, จำนวนนักเรียนชายซึ่งลดน้อยลง
ในการเรียนสายสามัญจะเข้าสู่การเรียนสายอาชีพหรือไม่,
จำนวนประชากรที่เข้าเรียนสถาบันอุดมศึกษาที่ลดน้อยลง,
รวมทั้งการติดตามดูว่าประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
ยังสามารถอ่านออกเขียนได้อยู่หรือไม่
เลขาธิการ สกศ.
กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สกศ.จะติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ 7 ประการ
ดังกล่าว เพื่อติดตามว่าหน่วยงานต่างๆ มีการนำยุทธศาสตร์ไปใช้หรือไม่
และแก้ไขปัญหาต่างๆ หรือไม่
ทั้งจะเดินสายรับฟังความคิดเห็นการจัดทำยุทธศาสตร์นี้ในแต่ละภูมิภาคก่อน
ประกาศใช้ด้วย ทั้งนี้
แผนการศึกษาชาติเป็นแผนใหญ่ของประเทศที่ทุกหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตาม
ส่วนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาปรับให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละรัฐบาลได้
จาก
การเปิดอภิปายทั่วไป รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
แผนการศึกษาชาติเป็นแผนการศึกษาชาติฉบับวรรณกรรมวิชาการ
เพราะเอกสารดีใช้อ้างอิงได้ อ่านแล้วมีความสุข การศึกษาไทยดีแน่
แต่นำไปใช้ปฏิบัติได้ยาก อย่างไรก็ตาม การนำเสนอแผนการศึกษาชาติต่อ ครม.
จะต้องหาจุดเด่นให้ ครม.ทึ่ง
ให้เห็นว่าการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติหรือโคม่า
จะต้องรีบทำแผนนี้จึงมีชีวิต
ที่มา : ไทยรัฐ
ที่มา : ไทยรัฐ