ข่าวการศึกษา
บทความการศึกษา
ข่าวเรียกบรรจุครูผู้ช่วย
ข่าวสอบพนักงานราชการ
ข่าวสอบครูอัตราจ้าง
สอบธุรการ
บทความ : “โรงเรียนที่ดี” กับปัจจัยหลายอย่างที่เมืองไทยขาดหาย!!
ถ้าพูดถึงเรื่องการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน มีคำถามเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรการศึกษา ระบบการศึกษา การวัดผลการศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของเด็กไทยว่าอยู่ในเกณฑ์ใด ทำให้เกิดคำถามขึ้นอยู่ตลอดเวลาว่า โรงเรียนที่ดี ที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพให้เด็กไทย ต้องมีปัจจัยใดเกี่ยวโยงบ้าง
ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของโรงเรียนที่ดีว่า โรงเรียนที่ดีครูจะต้องพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ครูจะต้องทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวาและมีบรรยากาศที่ทำให้เด็กในห้องมีความ สุขในการเรียน ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยรวมถึงทำตัวให้เด็กรู้สึกเป็นมิตรมากกว่าหวาด กลัว เพราะจะช่วยทำให้ห้องเรียนอบอุ่น ที่สำคัญจะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ให้เด็กได้ใช้ความ คิดริเริ่มและจินตนาการให้มากขึ้น โดยครูจะต้องพูดให้น้อยลง ให้เด็กคิดให้มากขึ้น ให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติให้มากขึ้น และที่สำคัญนักเรียนต้องเรียนให้สนุก เกิดการเรียนรู้ บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน
คุณภาพโรงเรียนเป็นประเด็นปัญหา หนึ่งที่สังคมไทยกำลังให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ กระทรวงศึกษาธิการกำลังพยายามที่ปรับคุณภาพโรงเรียนด้วยการปฏิรูปการศึกษา ลักษณะของโรงเรียนที่มีคุณภาพนั้น ได้มีนักวิชาการและนักการศึกษาด้านการบริหารการศึกษา ให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งถ้าลองนำหลายปัจจัยที่ผู้สันทัดกรณีทุกคนนำมารวมกันแล้ว จะออกมาคล้ายกับที่ กรมการศึกษาและการอบรม แห่งรัฐวิคตอเรียของประเทศ ออสเตรเลีย ได้ใช้เป็น โมเดลโรงเรียนคุณภาพ ในการขับเคลื่อนคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ ให้แก่โรงเรียนในสังกัดรัฐบาลของประเทศจนประสบความสำเร็จ
โดยโรงเรียนที่มีคุณภาพดีที่กล่าวถึงจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ สถานศึกษาต้องมีผู้นำมือที่เป็นอาชีพในการบริหาร ผู้ นำต้องรอบรู้และยึดมั่นในวัตถุประสงค์ ใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกด้าน และเป็นผู้นำวิชาชีพที่ทรงความรู้และมีคุณธรรม ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนของครู กำหนดเวลาเรียนต่อปีสูงและใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ เน้นงานด้านวิชาการการฝึกปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสัดส่วนที่ลงตัว ต้องจัดรูปแบบของบทเรียนได้ดีและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดล่วงหน้า
กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทุก ฝ่ายที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนสถาบันต้องมีวิสัยทัศน์เดียวกัน พร้อมมุ่งมั่น คงเส้นคงวาในการทำงานอย่างเชิงรุก เน้นทำงานด้วยความเป็นมิตรและการร่วมมือร่วมใจกัน ต้องมีการ จัดการเรียนการสอนที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน คือต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดและสามารถปฏิบัติได้จริง กำหนดความคาดหวังที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึงได้ มีการสื่อสารความคาดหวังให้ทุกคนทราบ พร้อมสร้างความท้าทายทางปัญญาแก่นักเรียน ครูและบุคลากร เพื่อให้ทุกคนอยากทำให้ได้อย่างที่คาดหวัง
ที่สำคัญต้อง สร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ สถาบัน การศึกษาต้องมีบรรยากาศน่าอยู่ น่าเรียนรู้และเป็นแหล่งประเทืองปัญญา รวมถึงมีบรรยากาศของการทำงานที่ดีของบุคลากร กระตุ้นการเรียนรู้สมาชิกทุกคนของโรงเรียนตลอดเวลา ทุกคนต้องทำตัวเป็นผู้เรียนอยู่เสมอ ใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาครู อาจารย์ และทำให้โรงเรียนเป็นองค์กรที่ปรับตัวและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เช่นกัน พร้อม สร้างความรู้สึกรับผิดชอบในการจัดการศึกษา พัฒนานักเรียนให้รู้จักการเคารพตนเอง สร้างนักเรียนให้เป็นผู้รู้หน้าที่และความรับผิดชอบ ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถควบคุมตนเองและการทำงานอิสระด้วยตนเอง รวมถึงต้องให้ผู้ปกครองเอาใจใส่และเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนต่อการ เรียนรู้ของนักเรียน
สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดย การติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าและผลการเรียนของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอด้วย ความเอาใจใส่พร้อมชี้แนะแนวทาง อีกทั้งต้องตรวจสอบ ประเมินผลงานของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน ยึดหลักความยุติธรรมและชัดเจนตรวจสอบได้ และต้องมีระบบข้อมูลย้อนกลับให้ทราบผลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษา พัฒนาต่อไป
สิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้เกิดโรงเรียนที่ดี ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะครูเพียงไม่กี่คนหรือนักเรียนเพียงบางกลุ่มจะสร้างให้เกิดโรงเรียนที่ ดีนั้นคงทำได้ยาก แต่หากทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาของประเทศไทยร่วมมือกัน เป้าหมายในการสร้างโรงเรียนที่ดีให้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศคงไม่ใช่เรื่อง ไกลเกินจริง.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
ป้ายกำกับ:
ข่าวการศึกษา