ข่าวการศึกษา

บทความการศึกษา

ข่าวเรียกบรรจุครูผู้ช่วย

ข่าวสอบพนักงานราชการ

ข่าวสอบครูอัตราจ้าง

สอบธุรการ

สรุปแล้ว!ปฏิทิน'แอดมิชชั่นส์'ปี57

         ทปอ.มีมติสรุปปฏิทินแอดมิชชั่นส์ ปี 57 พร้อมเสนอจำกัดจำนวนนายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ 'รมว.ศธ.' ฝากอธิการบดี 'ม.รัฐ-ราชภัฏ' ผลิตบัณฑิตสาขาขาดแคลน

        23 ธ.ค. 55  ที่มหาวิทยาลัยมหิดล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวมอบนโยบายในที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งที่ 6/2555 ว่า อยากฝากมหาวิทยาลัยใน 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1. ขอให้ผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของประเทศ ผู้ใช้ และควรเน้นในสาขาที่ขาดแคลน 2. ขอให้ดูเรื่องอัตรากำลังต่างๆ พยายามควบคุมจำกัดอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัย ไม่เพิ่มจนเป็นภาระแก่ประเทศมากเกินไป เพราะตอนนี้นักศึกษาก็น้อยลงเรื่อยๆ และต่อให้มหาวิทยาลัยบอกว่าใช้เงินของตัวเองรับพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งฟังดูดี แต่เวลาพนักงานมหาวิทยาลัยต้องการเงินเพิ่ม ก็มาเรียกร้องกับรมว.ศธ.ทุกที ดังนั้น การจ้างบุคลากรเพิ่มเติม ต้องการให้คำนึงถึงความจำเป็นและมีเหตุผลจริง 3. อยากให้มหาวิทยาลัยคำนึงเรื่องของการยกระดับคุณภาพบัณฑิตไทยให้ทัดเทียมกับ ประเทศอื่น เพิ่มขีดความสามารถ และการจัดระบบการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียน ซึ่งถ้าไม่จำเป็นไม่อยากให้มีการสอบซ้ำซ้อน 4. เรื่องงบวิจัย อยากเห็นงานวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศอย่างจริงจัง เพื่อรัฐบาลจะมีเหตุผลในการเพิ่มงบวิจัย เพราะที่ผ่านมา มีงานวิจัยจำนวนน้อยมากที่สังคมคนไทยเห็นว่าเกิดประโยชน์
        "อธิการบดีมีประสบการณ์ มีความรอบรู้มากกว่าพวกผม แต่จุดที่ผมบอกได้ คือ อยากเห็นคุณภาพบัณฑิตที่ยกระดับขึ้นมา และเผชิญกับโลกยุคปัจจุบันได้ ซึ่งท่านทั้งหลายมีเทคนิค มีวิธีการมากกว่า นอกจากนั้น ตอนนี้มีปัญหาสมองไหล มหาวิทยาลัยเล็กๆ ถูกดึงจากองค์กรต่างๆ ถ้ามหาวิทยาลัยรัฐใหญ่ๆ ดึงคนของมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่สร้างขึ้นมา ผมไม่อยากเห็น อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาต่างๆ ที่ทปอ.ฝากไว้ ผมจะรับไปดูทั้งหมด"
        ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน (23 ธ.ค.) นายพงศ์เทพ ได้มอบนโยบายในที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ฝากให้อธิการ มรภ.ทั้ง 40 แห่งในเรื่องเดียวกับที่ฝากทปอ.และได้ฝากเรื่องการเก็บค่าบำรุงการศึกษาใน หลักสูตรพิเศษด้วยว่า ควรอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผลไม่แพงจนมากเกินไป และในเรื่องบุคลากรนั้นยังได้รับทราบปัญหาว่าใน มรภ.บางแห่งโดยเฉพาะ มรภ.ขนาดเล็ก กำลังประสบปัญหาไม่สามารถดึงตัวบุคลากรของตนเองไว้ได้ เพราะบางรายพอได้รับการพัฒนาก็มักจะถูกสถาบันอื่นหยิบชิ้นปลามันไป หรือบางคนก็ตัดสินใจลาออกเพื่อไปรับราชการ เป็นต้น
 
ทปอ.มีมติปรับตารางปฏิทิน 'แอดมิชชั่นส์' ปี 57
 
       ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานทปอ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติปรับตารางปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดม ศึกษา (แอดมิชชั่นส์) ประจำปีการศึกษา 2557 ดังนี้
       รับสมัครสอบ 7 วิชาสามัญ วันที่ 1-24 พ.ย. 56  สอบ 7 วิชาสามัญ วันที่ 4-5 ม.ค. 57 รับสมัครสอบความถนัดทั่วไป (แกต) และความถนัดวิชาการ/วิชาชีพ (แพต) ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 1-27 ต.ค. 56 สอบแกต/แพต ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 7-10 ธ.ค. 56 ประกาศผลสอบแกต/แพต ครั้งที่ 1/2557 วันที่ 19 ม.ค. 57
       สอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ปีการศึกษา 2556 ปลายเดือน ก.พ. 2557 ประกาศผลสอบโอเน็ต ต้นเดือน เม.ย.2557 รับสมัครแกต/แพต ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 15-26 ม.ค. 57 รับชำระเงินค่าสมัครสอบแกต/แพต ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 15-28 ม.ค. 57 สอบแกต/แพต ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 8-11 มี.ค. 57 ประกาศผลแกต/แพต ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 27 เม.ย. 57
      มหาวิทยาลัย/สถาบัน/กลุ่มสถาบัน ที่เข้าร่วมในระบบรับตรงกลางร่วมกัน หรือเคลียริ่งเฮาส์ ส่งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกไปยัง สอท.จัดทำข้อมูลสำหรับประกาศให้นักเรียนยืนยันสิทธิ์ วันที่ 23 พ.ค. 57 นักเรียนยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย/สถาบัน/กลุ่มสถาบัน ที่ตนได้รับการคัดเลือก วันที่ 19 พ.ค. - 2 มิ.ย. 57 สอท.แจ้งรายชื่อผู้ที่ยืนยันสิทธิ์ ไปยังมหาวิทยาลัย และตัดสิทธิ์การสมัครในระบบแอดมิชชั่นส์กลาง วันที่ 5 มิ.ย. 57
       จำหน่ายระเบียบการคัดเลือกฯในระดับแอดมิชชั่นส์ ประจำปีการศึกษา 2557 วันที่ 5-15 มิ.ย. 57 รับสมัครแอดมิชชั่นส์ วันที่ 8-15 มิ.ย. 57 ชำระเงินค่าสมัครแอดมิชชั่นส์ วันที่ 8-17 มิ.ย. 57 ผู้สมัครตรวจสอบคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือกฯ วันที่ 20-21 มิ.ย. 57 ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 28 มิ.ย. 57 สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 7-9 ก.ค. 57 และประกาศผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วันที่ 15 ก.ค. 57 ทั้งนี้ที่ปรเะชุมได้มีมติให้มหาวิทยาลัยรัฐทุกแห่งเปิดสอบรับตรงในช่วง เดือนมกราคม
 
เสนอจำกัดจำนวนนายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ
 
       นอกจากนั้น ที่ประชุมได้หารือกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เสนอให้มีการจำกัดจำนวนนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย คนละไม่เกิน 2 แห่งนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าไปจำกัดจำนวน อาจทำให้มหาวิทยาลัยเล็ก ได้รับผลกระทบ ไม่มีผู้ที่มีความรู้ ความสามารถไปดำรงตำแหน่ง ขอให้รมว.ศธ. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้นายกสภามหาวิทยาลัย คนละไม่เกิน 3 แห่ง และกรรมการมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ซึ่งนายพงศ์เทพ ก็รับปากจะไปหารือต่อ

ที่มา : คมชัดลึก

แสดงความคิดเห็น