"ทีดีอาร์ไอ"
ชำแหละคุณภาพการศึกษาไทย ชี้เปลี่ยนตัว
รมว.ศึกษาฯบ่อยทำให้งานขาดความต่อเนื่อง
จี้ผู้บริหารการศึกษาร่วมรับผิดชอบผลคะแนนสอบตกต่ำ
เผยไทยใช้งบฯลงทุนด้านการศึกษามหาศาลแต่ยังไม่เห็นผล
แนะสอบวัดมาตรฐานนักเรียนให้มีผลต่อการเลื่อนชั้นและให้มีผลต่อ
โรงเรียน-เงินเดือนครู
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.55 ดร.สมเกียรติ
ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
กล่าวบรรยายเรื่อง
"เราจะปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลของการเรียนรู้อย่างไร"ในงาน
ประชุมวิชาการ ประจำปี 2555 เรื่อง
"การวิจัยสถาบันกับกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่อนาคต"
จัดโดยสมาคมวิจัยสถาบันและพัฒนาอุดมศึกษา(สวพอ.) ว่า
ปัญหาการศึกษาไทยมีความซับซ้อนหลายอย่างทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่คืบหน้า
เท่าที่ควร ทั้งเหตุจากนโยบายการศึกษาการปรับเปลี่ยน รมว.ศึกษาธิการ
และข้าราชการระดับสูงบ่อยขณะที่กลุ่มโรงเรียน กลุ่มครู
กลุ่มนักเรียนและภาคธุรกิจก็จะมีปัญหาแยกย่อยกันไป
อย่างไรก็ตาม
ที่ผ่านมามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุของปัญหาการศึกษาประเทศไทยว่าเป็น
เพราะเรามีทรัพยากรไม่เพียงพอ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะหากดูจากสถิติจะพบว่างบประมาณ
กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2546 จำนวน 1.7
แสนล้านบาท สูงขึ้นเรื่อยๆจนในปีงบฯ 2555 เป็น 4 แสนกว่าล้านบาท
ซึ่งถือว่าเราใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นตลอด
แต่หากเทียบงบฯการศึกษาไทยกับนานาประเทศ
จะพบว่าไทยใช้สัดส่วนงบฯการศึกษาต่อจีดีพีใกล้เคียงกับหลายประเทศ อาทิ
ประเทศญี่ปุ่นเกาหลีใต้ ฮ่องกง ส่วนสิงคโปร์ใช้น้อยกว่า
และเวียดนามใช้มากกว่าไทยเล็กน้อย
ดังนั้นถือว่าเราไม่ได้ใช้งบฯการศึกษาน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อเทียบสัดส่วนงบฯ ต่อจีดีพี
ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า
ยังมีข้อสงสัยว่าเหตุของปัญหาคุณภาพการศึกษาอาจเป็นเพราะครูมีรายได้ต่ำหรือ
ไม่
เรื่องดังกล่าวหากเป็นในอดีตอาจเป็นความจริงแต่ปัจจุบันมีข้อเท็จจริงว่า
เงินเดือนครูโรงเรียนรัฐบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.)ได้ปรับเพิ่มเงินเดือนขึ้นเรื่อยทุกปี อย่างบางคนเมื่อปี 2544
ได้จำนวน 19,000 บาท ล่าสุดก็ได้ปรับขึ้นเกือบ 30,000 บาทแล้ว
ดังนั้นเรื่องเงินเดือนครูไม่น่าเกี่ยวส่วนจะเป็นกรณีนักเรียนไทยมีชั่วโมง
เรียนน้อยไป จึงทำให้มีปัญหาเรื่องสัมฤทธิ์ผลหรือไม่นั้น
เรื่องนี้มีข้อมูลจากโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อ
ความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ว่า
หากเทียบชั่วโมงการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เด็กไทยมีชั่วโมงเรียนมากกว่าเมื่อ
เทียบกับนานาประเทศ แต่ปรากฏว่าผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ หรือพิซา
กลับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าเรื่องงบฯ การศึกษา รายได้ครู
และจำนวนชั่วโมงเรียนไม่ได้ทำให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำ
ดร.สมเกียรติ เปิดเผยว่า หากดูที่ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั้งการประเมินPISA
และTIMSS 2011 ซึ่งเป็นข้อสอบมาตรฐานนานาชาติ พบว่า
เด็กไทยมีคะแนนเฉลี่ยที่มีแนวโน้มลดลงทั้งสิ้น
ขณะที่การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ซึ่งเป็นข้อสอบมาตรฐานของประเทศเด็กไทยก็มีคะแนนเฉลี่ยต่ำลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูคะแนนสอบข้างต้นที่อยู่ในช่วงขาลง
ก็ดูจะไม่สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นและการมีชั่วโมง
เรียนมากดังนั้นจากการวิเคราะห์ของทีดีอาร์ไอเห็นว่าเหตุของปัญหาคุณภาพการ
ศึกษาตกต่ำ น่าจะมาจากการขาดความรับผิดชอบ
อย่างกรณีหากมีผลในทางใดทางหนึ่งต่อการศึกษาบุคคลผู้ที่รับผิดชอบนั้นก็ต้อง
มีผลต่อเนื่องเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้น
"ที่ผ่านมาเมื่อมีการประกาศผลสอบต่างๆ อย่างผลสอบ O-NET
ที่เด็กไทยตกกันทั้งประเทศ สุดท้ายก็เงียบ ล่าสุดกับผลวิจัยคะแนนสอบ TIMSS
2011 ที่เด็กไทยมีคะแนนตกต่ำ แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เรื่องนี้สะท้อนว่าเรายังขาดระบบความรับผิดชอบ
ทำให้ไม่มีใครที่จะเดือดเนื้อร้อนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรก็ตาม
เรามีข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพ คือ
การที่ผู้ปกครองนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมกำกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนรวม
ถึงการกระจายอำนาจบริหารจัดการไปยังโรงเรียน พร้อมกำหนดมาตรการการรับผิดชอบ
การสร้างแรงจูงใจให้ครูด้วยการเชื่อมโยงผลสัมฤทธิ์การสอบมาตรฐาน
กับการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน และการปรับระบบจัดสรรงบฯ
ให้โรงเรียนทุกสังกัดอย่างเท่าเทียมเพื่อแข่งขันกันได้"
ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า มีข้อเสนอทางนโยบายของทีดีอาร์ไอ ได้แก่
อยากให้มีนโยบายการจัดสอบมาตรฐานทุกชั้นเรียนหรือทุกช่วงชั้นและให้มีผลต่อ
การเลื่อนขึ้นชั้นเพราะอย่างระบบปัจจุบันเมื่อเด็กสอบตก
โรงเรียนก็จัดสอบซ่อมใหม่จนผ่าน
สุดท้ายคือการส่งเด็กไม่พร้อมไปสู่ชั้นเรียนที่สูงขึ้น
ควรมีการเปิดเผยผลการสอบข้อสอบมาตรฐานของโรงเรียนเทียบกับโรงเรียนใกล้เคียง
โรงเรียนระดับจังหวัดและประเทศให้ผู้ปกครองได้รับทราบเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
เสนอให้ลดการประเมินคุณภาพภายนอกแบบเดิมของสมศ.
เพราะใช้ต้นทุนการประเมินสูง
แต่ผลลัพธ์กลับสวนทางความจริงที่เป็นอยู่และควรใช้ผลการสอบมาตรฐานของนัก
เรียนมาประเมินครูและโรงเรียน
อีกทั้งนำมาเชื่อมโยงกับการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนครู
โดยดูจากพัฒนาการของคะแนนสอบ
เพื่อลดความได้เปรียบเสียเปรียบความสูงต่ำของคะแนนสอบจากความต่างทางบริบท
ของโรงเรียน
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ