นาย
ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
กล่าวถึงการเตรียมการพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินสมรรถนะครูศึกษานิเทศก์
เพื่อใช้ประกอบการประเมินและเลื่อนวิทยฐานะ
ตามที่คณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)
ให้ความเห็นชอบเมื่อปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมาว่า เมื่อเร็วๆ
นี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ได้ประชุมพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประเมินสมรรถนะครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
เพื่อใช้ประกอบการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้กับครู
โดยเชิญคณาจารย์และนักวัดผลและประเมินสมรรถนะครู
มาร่วมกำหนดมาตรฐานเพื่อใช้ในการประเมิน ยกตัวอย่าง ภาษาอังกฤษ
สพฐ.จะใช้วิธีเทียบเคียงมาตรฐานยุโรป ที่ใช้การกำหนดเป็นระดับหรือ Level
ต่างๆ รวมทั้ง TOEFL IELTS และ CU-TEP
มาเทียบเคียงมาตรฐานของผลคะแนนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมาย
"แนวทางตัวอย่างนี้จะกำหนดให้เด็กที่จบปริญญาตรีควรมีสมรรถนะภาษาอังกฤษอยู่ที่
ระดับบี 1 หย่อนจากกลุ่มประเทศในเอเชียที่บี 2 เพราะพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนระดับ ม.ปลาย ควรถอยหลังลงมาที่เอ 2
ฉะนั้นเมื่อเด็กมีมาตรฐานตามระดับที่กำหนดแล้วครูผู้สอนต้องมีระดับที่สูง
กว่าตามมาตรฐานยุโรป คือ ระดับต้นอยู่ที่บี 1 ระดับกลาง บี 2 และระดับสูงซี
1 อย่างไรก็ตามถือเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น
เพื่อให้เห็นว่าการประเมินสมรรถนะครูผู้สอนต่อจากนี้ต้องมีมาตรฐานและเป็น
สากล
เมื่อครูที่ผ่านการประเมินสมรรถนะเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ประกอบการเลื่อน
วิทยฐานะต่อไป" เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
ที่มา : ข่าวสด