ศึกษาธิการ - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมหารือกับนายชินภัทร ภูมิ
รัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)
และศาสตราจารย์ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อพิจารณาเรื่องการเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนของสถานศึกษาให้ตรงตามปฏิทินอา
เซียน เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ห้องทำงาน รมว.ศธ.
รมว.ศธ. กล่า
วว่า ได้หารือกับคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรณีการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยที่จะมีการเลื่อนออกไปจากเดิม
ทำให้มีผลกระทบกับนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์
ซึ่งโดยปกติเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ ๔ แล้ว จะต้องไปฝึกสอนเป็นเวลา ๑
ปี (๒ ภาคเรียน)
แต่เนื่องจากการเปิดภาคเรียนของในระดับโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษายัง
เปิดภาคเรียนแบบเดิม คือ ช่วงระยะเวลากลางเดือนพฤษภาคม ทำให้เวลาการฝึกสอนของนักศึกษาไม่มีความต่อเนื่อง และอาจจะฝึกสอนได้ไม่ครบเวลา ๑ ปี ส่งผลให้จบการศึกษาล่าช้าออกไป โดย เลขาธิการ
กพฐ.ก็มีมุมมองว่าอาจจะมีการปรับหรือขยับการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้บ้าง
เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถไปฝึกสอนต่อได้โดยไม่เสียเวลา ซึ่งในรายละเอียด
เลขาธิการ กพฐ. กับคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จะร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ ต่อไป
คณบดีคณะครุศาสตร์ฯ กล่าว
ว่า เป็นความห่วงใยของ
รมว.ศธ.ที่เห็นว่าการเปิด-ปิดภาคเรียนของระดับอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะ
กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ.
ยังมีความเหลื่อมล้ำกัน การ
ที่จะปรับให้สองระบบสอดคล้องกันก็จะเป็นภาพที่ดีในแง่ของเอกภาพในการจัดการ
ศึกษา และสอดคล้องกับนานาชาติในการร่วมจัดกิจกรรมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน อาจารย์ สู่เวทีสากล เพื่อให้มีความสะดวก มีความเป็นไปได้ และเกิดประโยชน์ต่อการศึกษามากขึ้น
สำหรับ
การศึกษาของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ในปัจจุบัน เป็นหลักสูตร ๕ ปี
และมีข้อบังคับของคุรุสภาให้มีการฝึกสอนเป็นเวลา ๑ ปีการศึกษา (๒ ภาคเรียน)
โดยแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑) นิสิตนักศึกษา ที่เรียนสะสมหน่วยกิตครบถ้วน
จะฝึกสอนในช่วงปี ๔ ภาคเรียนที่ ๒ และปี ๕ ภาคเรียนที่ ๑ และ ๒)
นิสิตนักศึกษา ที่เรียนตามปกติ จะฝึกสอนในช่วงปี ๕ ในภาคเรียนที่ ๑ และ ๒
หากมีการขยับปฏิทินตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยกำหนดในปีการศึกษา
๒๕๕๗ นั้น ภาคเรียนที่ ๒
ก็จะเปิดเรียนในช่วงกลางเดือนมกราคม-กลางเดือนพฤษภาคม
ซึ่งเป็นช่วงที่นิสิตนักศึกษาต้องไปฝึกสอน ในขณะที่โรงเรียน
สพฐ.ยังเปิดตามปกติ คือ กลางเดือนพฤษภาคม
ก็จะทำให้นิสิตนักศึกษาเสียโอกาสในการที่จะเข้าไปฝึกสอนตั้งแต่ต้นภาคเรียน
ซึ่งมีเวลาคาบเกี่ยวในส่วนนี้ประมาณ ๒ สัปดาห์
หากมีการขยับและไม่ทำให้สภาพที่คุ้นชินด้านสังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป แต่
เป็นการปรับเพื่อให้สอดรับกับระดับอุดมศึกษาในการส่งนิสิตนักศึกษาไปฝึกสอน
ให้กับโรงเรียน สพฐ. ซึ่งถือเป็นแหล่งสำคัญในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
และโรงเรียนเองก็ได้ประโยชน์ในส่วนนี้ด้วย
ก็จะเป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
รมว.ศธ.กล่าว
ด้วยว่า
หากมีการขยับเวลาเปิด-ปิดภาคเรียนออกไปในเวลาที่ไม่กระทบกับการศึกษาภาพรวม
มากนัก
การที่นิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์จะฝึกสอนต่อเนื่องทันทีก็จะมีความเป็นไปได้
สูง แต่หากไม่ฝึกสอนทันทีจะเสียโอกาสและจะจบการศึกษาล่าช้าไปอีก ซึ่งขณะนี้
สพฐ. และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จะพยายามพิจารณาหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับนิสิตนักศึกษาที่จะไปฝึกสอน
ซึ่งก็เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนที่ไปฝึกสอนด้วย