ข่าวการศึกษา

บทความการศึกษา

ข่าวเรียกบรรจุครูผู้ช่วย

ข่าวสอบพนักงานราชการ

ข่าวสอบครูอัตราจ้าง

สอบธุรการ

คุรุสภาเร่งกำหนดมาตรฐานใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาเซียน



          ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมประชุมผู้นำครูอาเซียนที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลพัฒนาครูของหลายประเทศโดยเฉพาะมาเลเซียและ สิงคโปร์แล้ว เมื่อเทียบกับประเทศไทยทำให้รู้สึกห่อเหี่ยวใจ เพราะกระทรวงศึกษาธิการของมาเลเซียประกาศว่าตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไปคนที่จะมาเรียนครูต้องเป็นคนที่ได้คะแนนในกลุ่มท็อปเทนของ ม.6 ซึ่งสิงคโปร์ได้ทำไปก่อนแล้ว และมาเลเซียยังประกาศอีกว่าทุกภาควิชาต้องจัดหาอาจารย์ชาวต่างชาติมาสอนใน ประเทศอย่างน้อยร้อยละ 30 ของอาจารย์ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการตื่นตัว ขณะที่สิงคโปร์วันนี้ทุกภาควิชามีอาจารย์ชาวต่างชาติอย่างน้อย40% แล้ว ในขณะที่ประเทศไทยแค่จะให้มีการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อให้ได้คน เก่งมาเป็นครูก็ค้านกันหัวชนฝา
          ดร.ดิเรก กล่าวต่อไปว่า ในการพัฒนาประเทศไม่มีประเทศใดสร้างความสมบูรณ์เพิ่มคุณภาพชีวิตของคนใน ประเทศได้โดยที่คนในประเทศคุณภาพต่ำ คิดและแก้ปัญหาไม่เป็น ขณะเดียวกันก็ไม่มีประเทศใดทำให้คุณภาพของคนในประเทศสูงขึ้นได้โดยที่ คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยและครูในโรงเรียนคุณภาพต่ำ จึงเป็นเหตุผลที่สิงคโปร์ต้องหาอาจารย์เก่ง ๆ มาสอน แต่สำหรับประเทศไทยในขณะนี้ถ้ามองนโยบายรัฐบาลเหมือนกับว่ารัฐบาลให้ความ สำคัญกับการศึกษามาก แต่แนวปฏิบัติหลายอย่างกลับยังไม่ได้ทำ ซึ่งเราจะโทษรัฐฝ่ายเดียวคงไม่ได้ ต้องยอมรับว่าคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรดูแลวิชาชีพครูที่ผ่านมาก็ขาดเอกภาพใน การผลักดันกฎระเบียบต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการผลิต การรับนักศึกษาของสถาบันการศึกษา การควบคุมคุณภาพสถาบันผลิตครู มาตรฐานการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือแม้แต่การต่อใบอนุญาตที่ขณะนี้ยังทำได้ง่าย แม้แต่สถาบันผลิตครูของเราก็ขาดความรับผิดชอบ ขออนุญาตผลิตแค่นี้แต่กลับผลิตเกินจำนวนที่ขอจนทำให้เป็นปัญหาเรื่องคุณภาพ ซึ่งจากบริบทต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราก้าวเร็วเหมือนประเทศอื่นไม่ได้
          "ที่ประชุมยังได้พูดถึงการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาเซียน ซึ่งผู้ที่ได้ใบอนุญาตจะสามารถสอนได้ทุกประเทศในอาเซียน แต่ใบอนุญาตดังกล่าวจะออกโดยสภาครูอาเซียน ซึ่งในเบื้องต้นสิงคโปร์ขอให้ใช้มาตรฐานของสิงคโปร์เป็นหลัก  ในขณะที่เราก็มัวแต่มุ่งเน้นกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยไม่ได้สนใจประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ทั้งที่จะเป็นรากฐานทำให้ประชาคมเศรษฐกิจเดินไปได้ เพราะเป็นเรื่องของการสร้างขีดความสามารถของคนให้มีคุณภาพ ซึ่งประเทศอื่นเขาไม่สนใจเรื่องนี้เพราะเขามั่นคงแล้วจึงมุ่งไปที่เศรษฐกิจ ได้ ขณะที่เรายังก้ำกึ่งอยู่ จึงต้องทำประชาคมสังคมให้ดีก่อน เมื่อสังคมเข้มแข็งแล้วเศรษฐกิจก็จะดีเอง" ดร.ดิเรกกล่าว.
--จบ--

          --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ธ.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--

แสดงความคิดเห็น