ข่าวการศึกษา

บทความการศึกษา

ข่าวเรียกบรรจุครูผู้ช่วย

ข่าวสอบพนักงานราชการ

ข่าวสอบครูอัตราจ้าง

สอบธุรการ

บทความ : ทำไมต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็ก



 
แถลงการณ์ชมรมครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 2
เรื่อง  ทำไมต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
          ความ ต้องการในการยุบโรงเรียนขนาดเล็กมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถดำเนินการ ได้ เพราะเป็นประเด็นร้อนทางการศึกษา ซึ่งผมเองก็พอเข้าใจ ฉะนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้ จึงอยากเรียนก่อนว่า การทำงานย่อมมีปัญหา มีความคิดที่หลากหลาย   มีความเห็นที่แตกต่าง เพื่อความสวยงามของระบอบประชาธิปไตย    เพื่อเกียรติและศักดิ์ศรีของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่เป็นศูนย์รวมของนักปราชญ์ราชบัณฑิต มีหน้าที่ในการสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จะต้องเป็นแบบอย่างในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เราอาจมีความเห็นที่แตกต่างได้ แต่เราจะไม่แตกแยก เรา ต้องนำเสนอปัญหาอย่างตรงไปตรงมา หาแนวทางแก้ปัญหาอย่างฉลาดเท่าทัน รอบคอบ ชัดเจน และหากมีความเห็นที่แตกต่าง ความเห็นที่คัดค้านไม่เห็นด้วย เราควร คัดค้านด้วยเหตุผล ด้วยข้อมูลด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ข้อขอร้องประการ สุดท้าย ขอความกรุณาอ่านข้อเสนอนี้อย่างละเอียด ครบถ้วนไตร่ตรองอย่างรอบคอบและสำคัญที่สุดคืออ่านให้จบ 

                ถ้าเราติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทราบว่าเรามีความ พยายามในการปฏิรูปการศึกษา เราเคยปฏิรูปการศึกษามาหลายเรื่อง ทั้งปฏิรูปโครงสร้าง ปฏิรูปครู ปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปการบริหารจัดการ แต่ปัญหาทางการศึกษาก็ยังคงมี อยู่ และนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาคุณภาพทางการ ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ คุณภาพของคนที่เป็นผลผลิตจากการศึกษายังไม่เป็นที่ ยอมรับ โดยเฉพาะทางด้านคุณธรรมจริยธรรมความเสียสละ การมองประโยชน์ส่วน รวม จิตสาธารณะเป็นต้น ต้องยอมรับว่าปัญหาทางการศึกษานั้นมีหลายปัจจัย ที่ เป็นองค์ประกอบของปัญหา ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางการศึกษา ปัญหาหนึ่งที่ สำคัญซึ่งเจ้ากระทรวงศึกษาธิการคนแล้วคนเล่า เมื่อเข้ามาต้องการผลักดันให้ มีผลในทางปฏิบัติ ก็คือการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แต่เมื่อ ประกาศเป็นนโยบาย ก็มักจะเกิดแรงต้าน มีการวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกลาย เป็นของร้อน ไม่อาจแตะต้องที่สุดต้องถอย เพื่อความอยู่รอด เพื่อความสมานฉันท์ ทั้งๆที่โดยสภาพปัญหาเห็นว่าสมควรยุบอย่างยิ่งก็ตามแต่ก็ต้องถอย ทำไมต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็ก สาเหตุที่ต้องยุบโรงเรียนขนาดเล็กเพราะ  
                1.ปัญหาทางด้านบุคลากร เป็นที่ทราบกันมานานว่ากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหาทาง ด้านการขาดแคลนครูและบุคลากรมาเป็นเวลานาน อัตราการขาดแคลนสูงมาก ทราบว่า หลายหมื่นอัตราและในระยะอีก 1-5 ปีข้างหน้าอัตราขาดแคลนจะเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก นัยว่าจะขาดแคลนถึงแสน อัตรา ฉะนั้นปัญหาเรื่อง ความขาดแคลนบุคลากรจะทวีความรุนแรงขึ้นอีก ถ้าเราไม่ปรับตัว 
                2.ปัญหาทางด้านงบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงใหญ่ มีบุคลากรเป็น จำนวนมากต้องบอกว่ามากที่สุดในบรรดากระทรวงทั้งหลาย ในบางปีกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุดในบรรดากระ ทรวงทั้งหลาย แต่งบประมาณส่วนใหญ่  เป็นงบประจำคืองบเงินเดือนของครูและบุคลากรทางการศึกษา    คงเหลือเป็นงบพัฒนาเพียงประมาณ 10-20% ของยอดงบประมาณทั้งหมดเท่านั้น ซึ่ง ถือเป็นอัตราที่น้อยมาก ตราบใดที่สภาพยังเป็นอย่างนี้ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความขาดแคลนครู และบุคลากรทางการศึกษา ย่อมเป็นไปได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย ในขณะเดียวกัน งบประมาณหรืองบลงทุนเกี่ยวกับการก่อสร้างต่างๆ เกี่ยวกับอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ ก็ยิ่งน้อยลงตามไปอีกตามสัดส่วน ในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการถ้า เรามองสภาพทั่วไปเมื่อเปรียบเทียบในอดีตอาจจะมองดูดีขึ้นมาก แต่ในความเป็น จริงเราพัฒนาช้ามาก ทั้งที่โดยสภาพเราสามารถที่จะก้าวไปได้เร็วกว่านี้ ถ้าเรามีการบริหารจัดการที่ดี แต่ที่เป็นอย่างนี้เพราะเรา กำลังจมปลักอยู่ กับปัญหา ที่สำคัญเรามองเห็นปัญหา มีวิธีแก้ไขปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้  เพราะ กลัวแรงกดดันของผู้ที่คิดว่าตนเองจะเสียประโยชน์ กลัวผลกระทบที่จะตามมา แต่พี่น้องที่เคารพครับปัญหามีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้ กลุ้ม และถ้าเราสามารถแก้ไขปัญหาที่ท้าทาย สามารถแก้ไขได้จะมากจะน้อยเราจะ เกิดความภาคภูมิใจ ที่สำคัญเราไม่ได้ทำเพื่อตนเองแต่เราทำเพื่อชาติ เพื่อ ส่วนรวม ถ้าเราได้พยายามแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จก็ยังดีกว่าอยู่เฉยๆ ผมจึง ขอเชิญชวนให้พวกเรามาช่วยกันคิด ช่วยกันหาวิธีการอย่างฉลาด เพื่อโอกาสที่ดี กว่า ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ด้วยวิธีที่ดีเป็น ที่ยอมรับของทุกฝ่ายปัญหาย่อมสามารถแก้ไขได้แน่นอน ถ้าเราสามารถแก้ไข ได้ เราจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ประเทศชาติโดยรวมจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ต่อ เนื่องและเข้มแข็ง  และถ้าเรามีวิธีการแก้ปัญหาที่ทุกฝ่ายได้ ประโยชน์ ทำไมเราไม่ทำดีกว่ามาจมอยู่กับปัญหาเดิมๆ กลายเป็นวัฒนธรรม รู้ ปัญหาแต่ไม่ยอมแก้ไข ในที่สุดก็มากอดคอกันจมน้ำตาย สุดท้ายผู้รับ เคราะห์ คือ นักเรียน ประชาชน ประเทศชาติ ซึ่งก็คือเรานั่นเอง อาจจะถามว่าการแก้ปัญหา ทำไมต้องมาลงที่โรงเรียนขนาดเล็ก ก็ต้องตอบว่า ก็ เพราะปัญหาสำคัญอยู่ที่โรงเรียนขนาดเล็ก คือ
                1.โรงเรียนขนาดเล็กที่จำนวนเด็กนักเรียนประมาณ 20-100 คน มีจำนวนมาก การที่ จะเพิ่มครูให้ครบชั้น ในสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน อย่างไรก็เป็นไปได้ยากหรือ ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมาคือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ ได้มากอยู่แล้ว  แต่งบที่ได้ส่วนใหญ่เป็นงบประจำคืองบเงินเดือนครูและบุคคลากรถึง 80-90% ซึ่งเป็นจำนวนเปอร์เซ็นที่สูงมาก ดังได้กล่าวมาแล้วมี การเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทยมีครูทั้งสิ้นประมาณ 400,000กว่าคน มีนักเรียนในความรับผิดชอบประมาณ 7,000,000 กว่าคน ประเทศอินโดนีเซียมีครูประมาณ 400,000 กว่าคนเท่าๆกับประเทศไทยแต่มีนักเรียนในความรับผิดชอบประมาณ 14,000,000 กว่าคนและในเรื่องคุณภาพทางการศึกษาประเทศไทยดีกว่าประเทศอินโดนีเซียเพียง นิดเดียวคือคุณภาพใกล้เคียงกันมาก นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
                2.ปัญหาครูไม่ครบชั้น ถ้ามองในแง่วิชาการนักคิดนักเขียนที่คัดค้านการยุบ โรงเรียน บรรดาผู้ที่คัดค้านเหล่านี้ก็เสนอให้บูรณาการการสอน ให้ใช้เทคโนโลยีสมัย ใหม่ ช่วยสอน ถ้ามองอย่างจำยอมเพื่อความสมานฉันท์ เพื่อรอมชอมให้ผ่านๆไปก็อาจจะสามารถยอมรับได้ เพราะประเทศไทยก็เป็นอย่างนี้ ตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว แต่ข้อเท็จจริง ของคนในภาคสนามก็ต้องยอมรับว่าขนาดมี ครูครบชั้น มีครูพิเศษมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยสอนเราก็ยังไม่สามารถยกระดับ คุณภาพทางการศึกษาของเด็กนักเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าครู 1 คนสอน 2 ห้อง 3 ห้องในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าคุณภาพจะเป็นอย่างไร อาจมีข้อ โต้แย้งในเชิงสถิติว่า คุณภาพทางของโรงเรียนขนาดเล็กก็มีไม่ได้ด้อยกว่า โรงเรียนขนาดใหญ่ ก็ต้อง ยอมรับว่ามีบ้างไม่เถียง แต่ประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการในภาพรวมเพื่อให้เกิดความประหยัด ความคุ้มค่า กระบวนการพัฒนาต่างๆทำอย่างเป็นระบบ มีความเป็นทีม มีความหลากหลายโรงเรียนขนาดเล็กน่าจะทำได้ไม่เต็มที่แน่นอน ด้วยข้อจำกัดต่างๆของบุคคลากรที่มีอยู่
                3.ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจริงๆก็คือนักเรียนได้เรียนหนังสือน้อย อันนี้คือ ข้อเท็จจริง ให้ลงภาคสนามไปดูตามโรงเรียนได้ ในหนึ่งสัปดาห์ แม้มีความ พยายามจะลดการอบรมสัมมนา การประชุม การทำกิจกรรมต่างๆ แต่ดูเหมือนว่านโยบาย ให้ลด แต่กิจกรรมอบรมกลับยิ่งเพิ่ม ครูต้องไปอมรม สัมมนา รับการตรวจเยี่ยม ประเมิน จัดทำคำสั่ง จัดทำเอกสาร จัดทำหลักสูตรซึ่งเป็นยาหม้อใหญ่ของครู
ทำๆๆ เลย ไม่ต้องสอนกัน ยิ่งโรงเรียนขนาดเล็กมีครู 4-5 คน ครูไม่ครบชั้นอยู่แล้วไป ประชุมอบรมเสีย 1- 2 คน แต่มี 8 ห้องเรียนแค่ควบคุม ไม่ไห้ตีกัน ไปเล่นตกน้ำตกต้นไม้พิการขาหัก แขนหัก ก็เป็นบุญแล้ว ฉะนั้นการที่จะเรียนให้เต็มเวลา เต็มหลักสูตร เต็มศักยภาพ เป็นไปได้น้อยมาก นี่หมายความว่าพูดอย่างตรงไปตรง มา ไม่เกรงใจกัน
                4.ข้อจำกัดของโรงเรียนขนาดเล็กคือ ครูน้อยงบประมาณน้อย การบริหารขาดความ คล่องตัว ขาดความยืดหยุ่น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่ การลงทุนต่อหัวของนักเรียนกลับตรงกันข้าม เราลงทุนกับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กสูงมาก  หลาย ฝ่ายอาจจะอ้างว่า การลงทุนทางการศึกษา เป็นบริการสาธารณะ เป็นการสร้างจิต วิญญาณของคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ควรคิดถึงความคุ้มทุน แต่ให้คิดถึง การบริการ การให้ แต่ถ้าเราเห็นอยู่ทนโท่ว่า มีวิธีการที่ดีกว่า คุ้มทุนกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า ทำไมไม่ช่วยกันคิดช่วยกันทำให้ดีขึ้น อย่าง กับโรงเรียนที่จังหวัดศรีษะเกษ ที่เป็นข่าวมีนักเรียน  3 คน มีครู 2 คน แต่ไม่มีใครกล้ายุบ รัฐลงทุนต่อหัวไปเท่าไหร่ ต้องบอกว่าบ้ากันทั้งประเทศแล้ว
(ขออภัยที่ใช้คำรุนแรง) ประโยชน์ที่ได้จากการยุบโรงเรียนขนาดเล็กมีดังนี้
                1.ถ้าเราสามารถยุบโรงเรียนขนาดเล็กได้กี่โรงเรียน เราก็จะได้อัตราครูผู้สอน เพิ่มขึ้นเท่านั้น เช่นถ้าเราสามารถยุบโรงเรียน 5,000 โรงเราก็จะได้อัตราครูมา 5,000 อัตราหรือมากกว่า โดยนำอัตราของผู้บริหารของโรงเรียนที่ถูกยุบมาเป็นอัตราครูผู้สอนที่บอกว่า ยุบโรงเรียน 5,000 โรง อาจจะได้อัตราผู้สอนมากกว่า 5,000 อัตรา   เพราะผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่จะอายุมากแล้ว เงินเดือนมาก ยุบอัตราผู้บริหาร 1 คน อาจตั้งเป็นอัตราผู้สอนใหม่ได้ถึง 2-3 อัตรา นี่คือจำนวนครูที่จะได้เห็นๆ
                2.การเพิ่มของจำนวนครูสายผู้สอน เมื่อมารวมกัน สมมุติโรงเรียน ก มีนักเรียน 60 คนมีครู 5 คน โรงเรียน ข มีนักเรียน 80 คนมีครู 7 คน โรงเรียน ค มีนักเรียน 70 คน มีครู 4 คน และที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ใกล้เคียงกันซึ่งโรงเรียนในลักษณะนี้มีมากมาย ในประเทศไทยในขณะนี้   ถ้าย้ายมารวมกันจะมีเด็กนักเรียน 210 คน มีครู 16 คน ยุบโรงเรียนมาแล้วจำนวนห้องเรียนยังคงมี 8 ห้องเช่นเดิม คือชั้นอนุบาล 2 ห้อง ชั้นประถมศึกษา 6 ห้อง นักเรียนแต่ละห้องโดยประมาณห้องละ 26 คน ยังรวมได้อีกเพราะโดยหลักเกณฑ์ห้องอนุบาลให้มีเด็กนักเรียนได้ 30 คน ระดับประถมและมัธยมให้มีเด็กนักเรียนได้ 40 คน ดำเนินการเกลี่ยอัตรากำลังครู ยุบอัตราครูมา 1 อัตราเพื่อนำไปจ้างเหมารถรับส่งนักเรียนที่ดีและปลอดภัยได้สบาย ยังคงมีครู เหลืออีกเกินอัตราของโรงเรียนใหม่ที่มารวมกันเสียอีก
                3.ครูอาจจะรับผิดชอบเด็กนักเรียนมากขึ้น แต่สอนน้อยลง มีครูลอยหรือเรียกตาม สูตรคำนวณครูเรียกว่าครูพิเศษ เมื่อครูลา ครูไปอบรมสัมมนา ก็สามารถมีครูทด แทนกันได้ ไม่ต้องทิ้งเด็กนักเรียน
                4.การทำงาน จะมีการทำงานที่เป็นทีม เป็นกระบวนการมากขึ้น การเรียนการสอน ก็ จะเป็นรูปแบบเป็นสาระมากขึ้นไม่ใช่ครูหนึ่งคนเป็นทั้งครูประจำชั้น เป็นทั้งครูวิชาการ เป็นทั้งหัวหน้าวิชาการ เป็นพัสดุ เป็นการเงินเป็นทุกอย่างสลับกันไปสลับกันมา ไม่เป็นเฉพาะเศรษฐีกับผีปอบที่ว่าเย้ากันเล่น
                5.ในเรื่องของงบประมาณ เมื่อมีการรวมโรงเรียน เด็กนักเรียนมากขึ้น งบประมาณ ก็มากขึ้น การบริหารงานก็ทำให้คล่องตัวมากขึ้น การขยับขยายสิ่งต่างๆก็ง่าย ขึ้น ไม่ใช่มีสมองคิด แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ จัดผ้าป่าหาเงินเพื่อการศึกษา จัดบ่อยไปครูชาวบ้านก็ บ่น ในอดีตจัดผ้าป่า จัดกีฬาสี กีฬากลุ่ม กีฬาอำเภอ เข้าค่ายลูกเสือ เงินงบประมาณไม่มีก็ต้องหักเงินเดือน ครู ขอความอนุเคราะห์ บางคนเงินเดือนติดลบ ก็ต้องร่วมบริจาคเพราะเป็นมติที่ ประชุม บางครั้งพอสิ้นเดือนต้องหาหยิบยืมเพื่อมาบริจาคตามข้อตกลง ครูบางคนหาไม่ได้ก็ทะเลาะกันกับการเงินที่ไปขอเก็บ นั่นอาจจะเป็นในอดีต แต่นั่นคือความลำบากของครู การเดินทางไปอบรมตามโครงการต่างๆแม้ไน ปัจจุบันมีน้อยมากที่ครูจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าชดเชยน้ำมันตามระเบียบ ของทางราชการ ตามสิทธิที่ควรได้ ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินส่วนตัว แล้วครูจะไม่เป็นหนี้อย่างไร การ รวมโรงเรียนขนาดเล็กให้มีเด็กนักเรียนประมาณโรงเรียนละ 500 คนขึ้นไป และผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ โรงเรียน ที่มีเด็กนักเรียนประมาณ 500 คนขึ้นไปจะได้รับค่ารายหัวประมาณปีละล้านบาทต้นๆ สามารถตั้งเป็นงบจ้าง บุคลากรได้ถึง 300,000 บาทในกรณีครูขาด หรือจะจ้างเจ้าหน้าที่อื่นๆที่ขาดแคลนได้ งบอบรมสัมมนาหรือ งบพัฒนาบุคคลากรก็สามารถตั้งไว้ตามสมควร เพื่อให้ครูได้เบิกตามสิทธิ งบ ประมาณการจัดกีฬา ลูกเสือ ทัศนะศึกษา ถ้ามีการวางแผนการบริหารจัดการที่ ดี ทุกฝ่ายก็ได้ประโยชน์ นักเรียนก็ได้เรียนเต็มที่ ได้รับประสบการณ์มาก ขึ้น ถ้าเราสามารถยุบโรงเรียนได้ตามเป้าหมาย ปัญหาการขาดแคลนครูก็หมด ไป จำนวนครูเท่าเดิมแต่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่งบประมาณของกระทรวง ส่วนใหญ่ เพิ่มขึ้นทุกปี งบรายหัวเพิ่มขึ้น งบลงทุนเพิ่มขึ้น การแก้ปัญหาต่างๆก็จะดี ขึ้นด้วย นโยบายที่เคยคิดไว้อย่างเช่น การเพิ่มเงินค่าชั่วโมงในกรณีสอน พิเศษ สอนเกินชั่วโมงที่กำหนด ก็จะมีความเป็นไปได้ นี่คือประสิทธิภาพของการ บริหารจัดการ จะยุบอย่างไร ผมเชื่อว่าเป็นข้อกังวลของผู้บริหาร ของครูโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะกลัวกระทบถึงสถานภาพที่เป็นอยู่ ฉะนั้น เรื่องนี้ต้องกำหนดเป้าหมาย กำหนดระยะเวลา กำหนดยุทธศาสตร์ให้เป็นที่พอใจ ของทุกฝ่าย ซึ่งเรื่องนี้แล้วแต่ผู้มีอำนาจ จะคิดจะทำ และเพื่อเสนอทางออกเบื้องต้นจึง ขอเสนอแนวทางนี้ ก็เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้นจะเห็นด้วยหรือคัดค้านก็ขอรับฟังด้วยความ เคารพ อย่างน้อยการที่ท่านได้มีข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะส่งมา แสดงว่าท่านได้อ่านบทความนี้แล้วอย่างละเอียดและเข้าใจ ผมมีข้อเสนอดังนี้ครับ
                1.อาจะต้องกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 ปี
                2.การยุบรวมทุกคนต้อง วินๆ
มาตรการ
                1.กำหนดวิธีการในการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
                2.กำหนดเงื่อนไขในการยุบ
วิธีการคงไม่ยากถ้าเงื่อนไขการยุบเป็นที่ยอมรับ เงื่อนไขในการยุบควรเป็นที่จูงใจ เช่น
1.ผู้บริหาร
                1.1ผู้บริหารโรงเรียนที่ถูกยุบจะต้องได้ย้ายไปเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่ใหญ่ขึ้นหรือโรงเรียนที่ต้องการย้ายไป
                1.2จะต้องได้รับบำเหน็จความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ 2 ขั้นสองปี
(หรือแล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อเป็นแรงจูงใจเพราะถือว่าได้ทำเพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติแล้ว)
2.ครูสายผู้สอน
                2.1สามารถเขียนย้ายไปโรงเรียนไดก็ได้ตามความต้องการ
                2.2จะต้องได้รับบำเหน็จความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ 2 ขั้น สองปี (หรือแล้วแต่เงื่อนไขที่เห็นสมควร)เพราะถือว่าได้เสียสละเพื่อชาติ เพื่อการศึกษาโดยรวมแล้ว    การให้ความดีความชอบดังกล่าวจะคุ้มหรือ ไม่ อยากเรียนว่าให้สองขั้น 3 ปีติดต่อกันก็คุ้มครับคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม การหาเม็ดเงิน การหาเปอร์เซ็นต์มาให้ก็สามารถหาได้ไม่ยากครับ ถ้าจะทำ                                                                                      
              ในกรณีมีข้อทักท้วงเช่นผู้ที่ต้องการสอบเป็นผู้บริหารโรงเรียนบางส่วนที่อาจ จะมองว่าทำให้เสียโอกาสที่จะเป็นผู้บริหารเพราะตั้งเป้าหมายไว้แล้วว่าจะ ต้องเป็นผู้บริหารในกรณีนี้ก็อาจจะกำหนดให้โรงเรียนขนาดเล็กครึ่งหนึ่งที่ ถูกยุบให้ บรรจุผู้บริหารใหม่ครึ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไรเราช่วยกันคิดช่วยกันเสนอแนะอย่างละเอียด รอบคอบ และสร้างสรรค์
บาง ท่านอาจจะคิดว่าความคิดนี้เว่อร์ไม่มีความเป็นไปได้ แต่ผมเชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ ถ้าเรามองเห็นประโยชน์ ความคุ้มค่า และสิ่งดีๆที่จะเกิดกับระบบการศึกษาของเรา แล้วเราช่วยกันคิดช่วยกันทำทุกสิ่งเป็นไปได้ เพราะทุกสิ่งคนเป็นคนคิดและเป็นคนทำ
อยาก จะเรียนด้วยความเคารพอีกประการหนึ่งว่า ถ้าเราไม่ขยับไม่ปรับตัวที่สุดสถานการณ์จะบังคับด้วยตัวของมันเอง เดียวนี้ โรงเรียนเอกชนในชนบทกำลังเติบโต และกำลังขยายตัวค่อนข้างรวดเร็วและกำลังเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงนักเรียน จากโรงเรียนในชนบทโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กไปเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนดัง กล่าว ซึ่งถ้าเรามองอย่างรู้ทันมองอย่างธุรกิจ เราควรจะเข้าใจแล้วว่าอาชีพของเราเริ่มขาดความมั่นคง เพราะเรากำลังถูกแย่งลูกค้า ครูบางคนดีใจคิดว่าสบายเพราะได้สอนเด็กนักเรียน จำนวนน้อยลง ถ้าเราคิดต่อไปว่าทำไมผู้ปกครองถึงนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนเอกชน รวมทั้งลูกหลานครูที่เป็นครูของรัฐด้วย  ก็นิยมส่งลูกหลานไปเรียนในโรงเรียนเอกชนเช่นกัน คำตอบง่ายๆคือโรงเรียนเอกชน มีครูครบชั้น มีอุปกรณ์การสอนที่พร้อม มีครูพิเศษอื่นๆที่น่าสนใจโดยเฉพาะทางด้านภาษา ซึ่งโดยข้อเท็จจริงขณะนี้ในฐานะที่อยู่ในวงการศึกษาก็ต้องยอมรับว่าโรงเรียน ที่พอแข่งขันคุณภาพการศึกษาและสามารถตรึงเด็กนักเรียนไว้ได้ระดับหนึ่งคือ โรงเรียนขนาดใหญ่ในชนบทหรือโรงเรียนอนุบาลระดับอำเภอ แต่ต้องยอมรับความจริงว่าแม้โรงเรียนอนุบาลระดับอำเภอบางส่วนก็ถูกดูดเด็ก นักเรียนไปด้วยเช่นกันนั่นคือความจริง ที่สุดอาชีพครูจะหมดความสำคัญลง คงเหลือครูลูกจ้างเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นๆ แล้วเราในฐานะครูปัจจุบันจะยอมหรือครับ  
          ท้ายที่สุดขอต้อนรับนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนใหม่และนายเสริมศักดิ์   พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้บริหารกระทรวง ศึกษาธิการ นานๆ  เพื่อสร้างระบบคุณธรรมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนและส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ตามที่สังคมต้องการ
 
                                                                                                                        ขอบคุณครับ
                                                        ชมรมครูรากหญ้าแห่งประเทศไทย

แสดงความคิดเห็น