ข่าวการศึกษา

บทความการศึกษา

ข่าวเรียกบรรจุครูผู้ช่วย

ข่าวสอบพนักงานราชการ

ข่าวสอบครูอัตราจ้าง

สอบธุรการ

นักวิชาการชี้แผนการศึกษาชาติปฏิบัติยาก

       นักวิชากรชี้แผนการศึกษาชาติปฏิบัติยาก ใช้ภาษานุ่มนวล สละสลวย จนไม่มีน้ำหนัก เช่น ส่งเสริมการขับเคลื่อน แนะใช้คำกึ่งบังคับรัฐบาลต้องเห็นความสำคัญของแผน การศึกษาชาติ เสนอหาจุดเด่น ครม.ทึ่ง เช่น การศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤตหรือโคม่า

       วันนี้ (24 ธ.ค.)โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ  ได้มีการประชุมวิชาการเรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ.2555-2559)  โดยดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา( สกศ.) กล่าวว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 ถือว่าเป็นแผนหลักที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน   คาดว่าจะปรับปรุงเสร็จและประกาศใช้เดือน พ.ค.2556   และในเดือน ม.ค.2556 สกศ.จะจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาชาติ พ.ศ. 2555-2558 โดยคำนึงถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ด้วย

       เบื้องต้น สกศ.จะเสนอ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  ยุทธศาสตร์การสร้างรายได้และขยายโอกาสทางการศึกษา ยุทธศาสตร์การปฏิรูปครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ยุทธศาสตร์การใช้งานวิจัยทางการศึกษา ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยีกับการศึกษา และยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  อย่างไรก็ตามสกศ.จะเดินสายรับฟังความคิดเห็นการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการ ศึกษาชาติ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อประกาศใช้พร้อมๆกันกับแผนการศึกษาชาติฉบับปรับปรุง

       ดร.ศศิธารา  กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ สกศ.จะจัดทำข้อมูลและสถิติทางการศึกษา สัดส่วนนักเรียนต่อครู การเข้าเรียนและจบของนักเรียนแต่ละช่วงชั้น   จำนวนนักเรียนชายที่เรียนสายสามัญลดลง และจะเข้าสู่การเรียนสายอาชีพหรือไม่ จำนวนประชากรที่เข้าเรียนสถาบันอุดมศึกษาที่ลดน้อยลง  การติดตามดูว่าประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และยังสามารถอ่านออกเขียนได้อยู่หรือไม่ เป็นต้น   ทั้งนี้เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะส่งให้องค์กรระหว่างประเทศที่จัด ลำดับด้านการศึกษา การแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป และหวังว่าหากมีเก็บข้อมูลและจัดส่งถูกช่องจะทำให้การจัดอันดับเรื่องการ ศึกษาของประเทศไทยดีขึ้น   ส่วนที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลเปลี่ยนนโยบายแผนการศึกษาชาติจะต้อง มีการปรับปรุงอีกหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าแผนการศึกษาชาติเป็นแผนใหญ่ของประเทศดังนั้นทุกหน่วยงานจะต้อง ปฏิบัติตาม ส่วนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสามารถปรับให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละรัฐบาล ได้อยู่แล้ว
       ด้านรศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แผนการศึกษาชาติเป็นแผนการศึกษาชาติฉบับวรรณกรรมวิชาการ  ซึ่งเอกสารดีใช้อ้างอิงได้ อ่านแล้วมีความสุข และการศึกษาไทยดีแน่ แต่นำไปใช้ปฏิบัติได้ยาก  โดยภาษาที่ใช้นุ่มนวล สละสลวย เช่นส่งเสริมการขับเคลื่อนซึ่งเป็นคำที่ไม่มีน้ำหนักต้องหาคำกึ่งบังคับ รัฐบาลว่าแผนนี้เป็นสิ่งสำคัญ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และควรนำไปใช้อย่างยิ่ง นอกจากนี้นำเสนอแผนการศึกษาชาติต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) จะต้องหาจุดเด่น ให้ครม.ทึ่งและเห็นว่าการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤตหรือโคม่า และ ทำแผนมีชีวิตด้วย  เช่น การปรับปรุงระบบหลักสูตรครั้งใหญ่ของประเทศ  เพื่อ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ไม่ใช่การท่องจำ การผลิตแรงงานระดับกลางการเปิดเสรีการศึกษารองรับประชาคมอาเซียน การสอบแอดมิชชั่น การใช้การศึกษาแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้

ที่มา : เดลินิวส์

แสดงความคิดเห็น